การลงพื้นของเท้า การวางลำตัว การวางศรีษะ และการแกว่งแขน จริงๆก็วางไว้ที่เดิมล่ะแค่เช็คตำแหน่งเล็กน้อย
มาเริ่มดูกันทีละข้อไปเลย
การลงพื้นของเท้า
สำคัญมากเกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บที่นักวิ่งส่วนใหญ่เป็นกัน สำคัญจริงๆนะตัวเธอก่อนเข้าเรื่องเรามาทำความรู้จักเท้าของเราสักนิด(แวะอีกแล้ว) เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันจะได้คุยกันรู้เรื่องอ่ะ เท้าเราส่วนที่สัมผัสพื้นแบ่งเป็นสี่ส่วน(ดูรูปประกอบได้เลย)
1. ส้นเท้า (Heel)
2.กลางเท้า (midfoot)
3.แนวปุ่มกลมๆก่อนถึงนิ้ว (Ball of foot)
4.นิ้ว (Toes)
ลักษะณะการลงเท้าของคนเราขณะวิ่งมีอยู่ด้วยกันสามแบบหลักๆ
ลงที่ ส้นเท้า กลางเท้าและหน้าเท้า(Ball of foot เรียกอีกอย่างก็ forefoot) โดยธรรมชาติของคนเวลาเดินส้นเท้าจะลงพื้นก่อน แต่ถ้าวิ่งก็จะกลับกันเป็นกลางเท้าหรือหน้าเท้าลงก่อน (ลองดูได้) เพราะอะไรนะรึ?
ของงี้มันต้องลอง ถอดรองเท้าเดินเลย แล้วก็ค่อยๆวิ่งให้เร็วขึ้น (ถ้าตอนวิ่งยังใช้ส้นเท้าลงอยู่รับประกันความสั่นสะเทือนส้นเท้ากระแทกไปถึงหัวเข่าระดับ4รกเตอร์) พยายามใช้ส้นลงพื้นแล้วมันไม่ไหวจริงๆ เลยต้องปรับมาเป็นช่วงหน้าเท้าค่อนไปทางปลายเท้า สักพักก็รู้ตัวว่ามันค่อนไปทางปลายเท้ามากเกินไป(นิ้วเริ่มจะเจ็บละ) เลยต้องปรับอีกรอบ ถ่ายน้ำหนักลงพื้นมาเป็น หน้าเท่าค่อนมาทางกลางเท้า
เวปฝรั่ง(http://jollyguru.com/correct-and-proper-running-technique-foot-strike/)เค้าแนะนำมาว่าแรงกดแต่ละส่วนของเท้าขณะลงพื้นควรเป็นเช่นไร
ถ้าดูตามรูปคือเวลาลงพื้นให้ส่วนหน้าเท้าลงก่อนแล้วส่วนกลางเท้ากะส้นเท้าค่อยตาม นิ้วเท้ามันจะสัมผัสพื้นเองอยู่แล้ว
ตอนนี้ก็จะมีคำถามเกิดขึ้นมา
"ตอนนี้ก็วิ่งลงส้นอยู่ไม่เห็นเป็นอะไรเลยอ่ะ"
จริงๆก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่เป็นอะไร ที่วิ่งได้อยู่อย่างไม่เป็นอะไรก็เพราะ "รองเท้า" รองเท้าวิ่งที่เป็นแบบ Traditional จะมีส่วนรองรับแรงกระแทก(Cusion)ที่ส้นเท้าหนามาก ทำให้แรงที่ส่งไปที่เข่าลดลง อีกเรื่องคือระยะวิ่งยังไม่มากพอ และอีกเรื่องก็คือความทนทานของร่างกาย
คำถามมาอีกแล้ว "งี้ก็วิ่งลงส้นได้สิ รองเท้ามีกันกระแทกมาแล้วนี่" จริงๆมันก็ได้อ่ะล่ะ แต่รองเท้าที่มี cusion หนาก็ไม่ได้เก็บแรงกระเทกทั้งหมดแค่ลงให้น้อยลงเท่านั้น แล้วก็มันไม่ใช่ท่าวิ่งธรรมชาติของคน
การวิ่งลงส้นเท้าแรกกระแทกจะถูกส่งไปที่หัวเข่า สะโพก และหลังส่วนล่าง ทำให้อาจเกิดอาการบาดเจ็บบริเวรหัวเข่ากลับกันถ้าวิ่งกลางเท้า แรงที่เกิดขึ้นจะถูกส่งไปที่น่องและมีความยืดหยุ่นของเส้นเอ็นช่วยซับแรงคล้ายๆสปริง
ตอนแรกผมก็วิ่งลงส้นนี่ล่ะ แรกๆก็วิ่งได้สบายๆนะ พอเพิ่มระยะทางก็รู้สึกเมื่อยๆเข่า ก็คิดเอาเองว่ามันเพราะเราวิ่งเยอะขึ้น วิ่งอีกสามสี่ครั้งที่ออกแนวเมื่อยๆเริ่มออกแนวปวดถึงกับต้องหยุดวิ่ง พอลองปรับท่าวิ่งวันแรกก็รู้สึกได้แล้วว่าหัวเข่ามันล้าน้อยลง ไปลงที่น่องแทน ลองดูการเปรียบเทียบการลงพื้นแต่ละแบบดูได้
เอาล่ะ อาจจะยังไม่โดนใจบางคนเท่าไหร่ "ทำไมชั้นต้องเปลี่ยนท่าวิ่งด้วยยะ" เดี๋ยวก่อนเรามีข้อเสนออีก นอกจากเรื่องอาการบาดเจ็บ(ที่เค้าเป็นห่วงนะตัวเธอ) แล้วยังมีเรื่องประสิทธิภาพของการวิ่งด้วย ขณะที่เท้าเราสัมผัสพื้นมันจะมีแรงกระทำทั้งสองฝั่ง คือพื้นก็จะส่งแรงกลับมาที่เท้าด้วย ถ้าเราใช้ส้นเท้าลงมุมของขาจะเป็นมุมที่ยื่นไปหน้าตัว(ชมที่รูปประกอบ)
ตามรูปแรงที่ถูกส่งกลับมาจะไปทางด้านหลัง นึกภาพเวลาเดินลงจากทางชันเราต้องยันเท้าไปหน้าตัวเพื่อไม่ให้ไหลไปตามทางก็คือให้แรงที่พื้นพยุงตัวเราไว้ด้านหลังนั่นเอง แต่ๆๆๆ ถ้าเราวิ่งด้วยเท้าหน้าหรือกลางเท้า แรงมันจะถูกดีดส่งไปทิศทางด้านหน้า ชมคลิปประกอบ นาทีที่7
สรุป1 ท่าวิ่งที่ถูกต้องช่วยลดโอกาสการเกิดอากาบาดเจ็บและเพิ่มประสิทธิภาพในการวิ่ง
สรุป2 รองเท้าที่มี Cusion หนา ไม่ใช่ไม่ดี นักวิ่งระยะไกลเค้าก็ใส่กัน แต่ช่วงแรกที่เราเริ่มวิ่งจะทำให้เราละเลยท่าทางการวิ่งที่ถูกต้อง
เล่ามายาวแสนยาวหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้เพื่อนได้บ้างนะจ้า
ส่วนที่เหลือคราวหน้ามาว่ากันไม่ไหวละสมาธิหดหาย